วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการดูแลรักษาภายในรถยนต์

ถ้าพูดถึงรถยนต์ และการดูแลรักษารถยนต์แล้ว หลายๆ คนคงจะนึกถึงการล้างรถภายนอกให้ดูดี สวยงาม เหมือนรถคันใหม่ ทว่าหลายคนคงลืมไปว่านอกจากการล้างสีที่ทำให้รถดูเงางามประทับใจยามขับผ่านแล้ว เราควรจะต้องดูแลรักษาภายในรถยนต์ ให้สะอาด และน่าใช้งาน ซึ่งการดูแลรักษาภายในรถยนต์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าทำอย่างถูกวิธี การดูแลรักษาภายในรถยนต์นั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากกว่าการดูแลรักษารถทางภายนอก เนื่องจากการดูแลภายในให้ดูสะอาดเอี่ยม และมีลักษณะที่ดีนั้นจำเป็นต้องเริ่มดูแลตั้งแต่วันที่รถออกมาจากศูนย์บริการ ทั้งยังต้องทำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำเพื่อขจัดสิ่งที่เรียกว่า “ความสกปรก” ซึงเป็นต้นเหตุของเชื้อโรคที่นำพาไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ ฟังดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครๆ ก็คงรู้ดีกันอยู่แล้ว ทว่าความจริงการที่เราจะรักษาสภาพห้องโดยสารที่มีการใช้งานมากกว่าทางภายนอก แต่มีความทนทานน้อยกว่า ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่อย่างไรก็ตามเราก็มี 5 วิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ เพื่อรักษาสภาพภายในรถยนต์ให้ดูดีอยู่เสมอ 1. งดเครื่องหอม และการสูบบุหรีในรถ เพียงข้อแรกนี่ก็คงเป็นยากสำหรับใครหลายๆ คนแล้ว เพราะน้ำหอม หรือการสูบบุหรี่เป็นอะไรที่หลายคนติดมากๆ โดยเฉพาะสุภาพสตรี ที่ต้องการให้ห้องโดยสารมีกลิ่นที่พึ่งประสงค์ และดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือท่านชายสิงห์อมควันทั้งหลายที่ขาดไม่ได้ยามเดินทาง หลายคนอาจจะถามว่าทำไมต้องงดเครื่องหอม และบุหรี่ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า เจลและควันที่ละลายเป็นไอในห้องโดยสารนั้นจะลอยไปกับระบบปรับอากาศ และท้ายที่สุดมันก็จะไปติดอยู่กับชุดคอยย์เย็น หรือตู้แอร์ โดยจะจับเป็นคราบขาว เมื่อนานไปจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ซึ่งจะทำให้คุณมีปัญหาสุขภาพในที่สุด 2. หมั่นทำความสะอาดภายในรถยนต์ แน่นอนการจะรักษาความสะอาดที่ดีที่สุด คือต้องหมั่นขจัดคราบสกปรกต่างๆเป็นประจำ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง พร้อมขัดเคลือบน้ำยารักษาภายใน กับชุดพลาสติก และเบาะหรือชิ้นส่วนที่เป็นหนังภายในรถยนต์ ซึ่งโดยปกติ น้ำยาพวกนี้จะมีกลิ่นบ้าง ดังนั้น เมื่อทาน้ำยาแล้วควรเปิดกระจกให้อากาศระบายด้วย 3. งดการทานอาหารบนรถ สิ่งสำคัญที่สุด คือพยายามอย่าทานอาหารในรถ เพราะอาหาร แม้จะไม่มีกลิ่น แต่การที่มีเศษอาหารร่วงในห้องโดยสาร โดยเฉพาะสมัยนี้ที่โดยมากรถมักจะมาพร้อมชุดพรมนั้น มักจะเป็นแหล่งสะสมความสกปรกอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศษอาหารเล็กๆเหล่านี้ เป็นแหล่งเชื้อเชิญสัตว์ ไม่พึงประสงค์ด้วย ทางที่ดีเลี่ยงเสียดีกว่า 4. เก็บขยะในรถเป็นประจำ เราปฏิเสธๆไม่ได้ว่า รถเราจะไม่มีขยะเลย แต่สิ่งที่ทำได้คือต้องทำให้มันมีน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย ซึ่งการเก็บขยะในรถเป็นประจำนั้น จะทำให้รถดูสะอาด และน่าใช้งาน นอกจากนั้น การเก็บสิ่งของต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ถือเป็นสิ่งที่ควรทำ โดยเฉพาะท่านผู้หญิงทั้งหลาย ที่ชอบเปลี่ยนรถเป็นบ้าน 5. ใช้บริการซักเบาะ-พรมบ้าง สิ่งที่มักสกปรกที่สุดในรถของพวกเรานั้นคือ พรมและเบาะ โดยเฉพาะรถเบาะผ้านั้น เป็นตัวดูดฝุ่น และความสกปรกอย่างดีเลย ซึ่งจะทำให้รถคันเก่งของเรากลายเป็นที่หมักหมม และบ่อเกิดของเชื้อโรค แน่นอน ทางที่ดีที่สุดคือเราต้องนำรถเข้ารับการทำความสะอาดใหญ่กันบ้าง โดยใช้บริการซักเบาะ และชุดพรมปูพื้น ซึ่งควรจะพึ่งร้านล้างรถชั้นนำต่างๆ และควรทำเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อที่รถจะได้สะอาดดูใหม่อยู่เสมอ นี่ก็เป็นเพียง 5 ข้อควรปฏิบัติง่ายๆ ที่คุณสามารถทำให้ภายในรถโดยสารสะอาด และน่าใช้งาน และที่สำคัญที่สุดคือ การหมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ จนติดเป็นนิสัย เพื่อให้ความสะอาดนั้นคงอยู่ตลอดไปตราบนานเท่านาน

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการเลือกฟิล์มกรองแสงให้กับรถคุณ

หลายคนอาจคิดว่าฟิล์มกรองแสงที่ได้จากการแถมมาตอนซื้อรถยนต์ หรือที่ไปหาซื้อตามร้านนั้น รุ่นไหนก็ไม่แตกต่างกันมาก ขอแค่ราคาถูก และมีสีตามที่ต้องการก็พอ จริงๆแล้วความคิดนี้ถือเป็นความคิดที่ผิดครับ จริงอยู่ว่าในปัจจุบัน ฟิล์มกรองแสงนั้นมีให้เลือกมากมาย ทั้งในเรื่องของยี่ห้อ สีของฟิล์ม ราคา การรับประกัน ฯลฯ แต่การที่จะเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปนั้นต้องอาศัยการพิจารณาซักเล็กน้อยครับ เนื่องจากการใช้งานรถยนต์ในแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น บางคนขับรถตอนกลางคืนบ่อย บางคนขับแต่ตอนกลางวัน หรือบางคนขับต่างจังหวัดบ่อยไม่มีแสงจากไฟถนนมากนัก บางคนไม่ต้องการจะให้ใครเห็นสิ่งภายในรถยนต์ เนื่องจากต้องการเก็บของมีค่า หรือต้องการแต่งหน้าขณะขับรถ ฯลฯ ร้อยคนก็มีร่วมร้อยความต้องการ ดังนั้น การเลือกรุ่นของฟิล์มที่จะนำมาใช้สำหรับรถยนต์ จึงควรพิจารณาถึงข้อดี และข้อเสีย รวมถึงความเข้าใจขั้นพื้นฐานในเรื่องรังสีจากดวงอาทิตย์ซักเล็กน้อยครับ การทำความเข้าใจถึงเกร็ดความรู้เรื่องรังสีจากดวงอาทิตย์นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญพอสมควร เพราะจะสามารถนำไปโยงถึงจุดอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กันได้เยอะ และไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ โดยเรื่องราวนั้นมีอยู่ว่า ทุกคนน่าจะพอทราบว่า ดวงอาทิตย์นั้นส่องเข้ามายังพื้นโลกโดยการแผ่รังสี และมีการป้องกันรังสีต่างๆโดยชั้นบรรยากาศของโลก หลังจากนั้นเรามาพิจารณาในส่วนของรังสีต่างๆที่หลงเหลือเข้ามายังโลกที่เราสามารถรู้สึกได้ จะสามารถแยกเป็นสามประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ 1. รังสีอินฟราเรด (Infrared Ray) มีสัดส่วนอยู่ที่ 53% - เป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้เกิดความร้อน 2. แสงที่มองเห็นได้ (Visible Light) มีสัดส่วนอยู่ที่ 44% - มีผลในเรื่องแสงจ้าเป็นหลักและมีผลกระทบในเรื่องความร้อนเป็นบางส่วน 3. รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV Ray) มีสัดส่วนอยู่ที่ 3% - มีผลทำให้วัตถุซีดจางหรือเกิดมะเร็งผิวหนังได้หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นผู้ผลิตฟิล์มกรองแสงในแต่ละยี่ห้อจึงผลิตฟิล์มกรองแสงออกมาหลายรูปแบบให้ครอบคลุมกับผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยหลักทั้งสามนี้ เช่นว่า หากฟิล์มกรองแสงที่เลือกใช้เป็นฟิล์มที่สีเข้มเพียงอย่างเดียว (ประเภทฟิล์มย้อมสี) และไม่ใส่วัสดุที่สามารถสะท้อนรังสีอินฟราเรดได้เลย ก็จะสามารถกันได้เพียงแสงจ้าที่มาจากดวงอาทิตย์เท่านั้น ไม่มีคุณสมบัติในการกันความร้อนที่ดี หรือหากไม่ต้องการติดตั้งฟิล์มที่มืด แต่ต้องการกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ก็ควรเลือกฟิล์มชนิดพิเศษที่ผู้ผลิตรับรองในคุณสมบัติการกันรังสีอินฟราเรด ก็จะได้ฟิล์มที่ใส และลดความร้อนได้ดี ส่วนในเรื่องการกันรังสียูวีนั้น จะเห็นว่า ปริมาณรังสียูวีที่แผ่เข้ามายังโลกนั้น มีปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นฟิล์มกรองแสงส่วนใหญ่ที่ได้รับการรับรองนั้นสามารถกันในส่วนนี้ได้พอๆกันอยู่แล้ว นอกจากนั้น ยังมีอีกวิธีในการเลือกฟิล์มกันความร้อนแบบง่ายๆ นั่นคือ หากต้องการใช้ฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการกันความร้อน ควรเลือกฟิล์มที่มีความเงาในตัว (ฟิล์มปรอท) ยิ่งเงาก็ยิ่งสะท้อนรังสีความร้อนได้มาก แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องวิสัยทัศน์ในการมอง ถ้าฟิล์มมีความเงามาก อาจจะทำให้การขับขี่นั้นยากขึ้นในเวลากลางคืน หรือวันที่มีแสงน้อย เป็นต้น ดังนั้น การพิจารณาก่อนการตัดสินใจติดฟิล์มกรองแสง หรือฟิล์มรถยนต์ นอกจากการเลือกให้เข้ากับสี และรุ่นของรถยนต์แล้ว รูปแบบการใช้งาน การรับประกัน และความสะดวกสบายในการขับขี่ก็เป็นเรื่องที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกซื้ออีกด้วย หากคุณกำลังมองหาฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติข้างต้นครบถ้วนแล้ว เจาะจงฟิล์ม 3เอ็ม (3M film) ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติเหนือกว่าฟิล์มกรองแสงยี่ห้อชั้นนำทั่วไป

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

แรงดันลมยาง

วันนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องแรงดันลมยาง ซึ่งยางรถยนต์ก็ก็มีหลายแบบหลายขนาด ยางรถยนต์ของท่านแบบไหนขนาดใดเชิญศึกษาข้อมูลกันได้เลยนะค่ะ แรงดันลมมาตรฐานของยางรถยนต์ทุกรุ่น มีระบุไว้บนสติกเกอร์ที่ตัวรถยนต์หรือคู่มือประจำรถยนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 28-32 ปอนด์/ตารางนิ้วสำหรับรถยนต์นั่ง การวัดแรงดันลมยาง ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจเช็คแรงดันลมยางที่ได้มาตราฐานและวัดตอนที่ยางเย็นหรือร้อนไม่มาก ( ขับไปไม่เกิน2-3 กม. ) และไม่ควรใช้เพียงสายตาในการเดาแรงดันลมยางโดยดูจากการยุบตัวของ แก้มยางเพราะ แม้ลมยางจะอ่อนลง 10 ปอนด์/ตารางนิ้ว ก็อาจมองไม่เห็น ความแตกต่าง หากละเลยการตรวจสอบลมยาง มักเกิดปัญหาแรงดันลมน้อย-ยางอ่อน ทำให้แก้มยางมีการบิดตัวมากและร้อนง่าย สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น และอัตรา เร่งลดลง จากแรงต้านการหมุนที่เพิ่มขึ้น และหากลมยางอ่อนมากๆ จะทำให้ โครงสร้างภายในเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และมีการสึกหรอบริเวณนอกซ้าย-ขวาของยางมากกว่าแนวกลาง บางคนรู้สึกยางอ่อนแล้วอาจคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเติมยางเกินไว้น่าจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องตรวจสอบบ่อยๆซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะแรงดันลมยางที่มากเกิน ไปทำให้ประสิทธิภาพการเกาะถนนลดลง จากหน้าสัมผัสที่ลดลง กระด้าง และถ้าลมยางแข็งมากๆ จะเสี่ยงต่อการระเบิด และมีการสึกหรอบริเวณแนวกลางมากกว่าริมนอกซ้าย-ขวา เดินทางไกล เติมแรงดันลมเพิ่ม ควรเติมแรงดันลมยางมากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อป้องกันยางร้อนอันเนื่องมาจากการบิดตัวของแก้มยาง อาจตรงข้ามกับความคิด ที่ผิดๆที่ว่า เมื่อเดินทางไกลยางหมุนด้วยความเร็วสูงต่อเนื่อง ยางน่าจะร้อนและแรงดันเพิ่มขึ้นจากหลักการของก๊าชอากาศร้อนจะขยายตัว ทำให้แรงดัน ลมยางจากปกติ ซึ่งไม่ถูกต้อง หากมีการลดแรงดันลมยางต่ำกว่าค่าแรงดันลมยางปกติในการเดินทางไกล โครงสร้างของยางมีโอกาสการเสียรูปสูง อันเนื่องมาจากการบิดตัวของ แก้มยางต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และทำให้อุณหภูมิของยางสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสการเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากยางระเบิดได้ นอกจากนี้ยังทำให้ยางมีอายุการใช้งานสั้นลงมากอีกด้วย วิธีที่ถูกต้อง คือ เมื่อเดินทางไกล ควรเติมลมยางมากกว่าปกติ 2-3ปอนด์/ตารางนิ้ว แรงดันลมที่เพิ่มขึ้นจะช่วยต้านการบิดตัวของแก้มยางน้อยลง ทำให้ไม่เกิดความร้อนมากเกินไปขณะวิ่งด้วยความเร็วสูง ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากยางระเบิด **เมื่อเสร็จจากการเดินไกลแล้ว ก็ควรลดแรงดันลมยางมาเป็นแรงดันลมปกติ** ยางอะไหล่ต้องพร้อม ยางรถยนต์ยุคใหม่มีโอกาสรั่วน้อยมาก ถ้าไม่โชคร้ายเกินไปก็ไม่น่าเกิน1-2 ครั้ง/ปี ยางอะไหล่จึงมักไม่ค่อยได้รับความสนใจหรือตรวจสอบเหมือนยางเส้นที่ใช้งานจึงควรเติมลมยางอะไหล่ไว้มากหน่อย คือ 40 ปอนด์/ตารางนิ้ว เมื่อต้องการใช้ยางอะไหล่ ถ้าแรงดันลมที่มีอยู่สูงเกินไปก็แค่ปล่อยออกให้เท่าปกติ

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ประสบการณ์การหัดขับรถวันแรก

เกิดมาก็เพิ่งเคยขับรถก็ตอนที่รัฐบาลเค้ามีนโยบายรถคันแรกนี่แหละคร้า ร้อยวันพันปีไม่เคยจะไปเรียนไปหัดขับกะเค้า พอซื้อรถมาแล้วก็ต้องลุยล่ะจ้า ทั้งฮาทั้งเครียดทั้งเกร็ง สารพัดอาการ ด้วยความที่ไม่เค้ยไม่เคยขับมาก่อน ใจมันเต้นตุ๊บๆยังกะซดกาแฟดำกันเลยทีเดียว วันแรกแห่งหลักสูตรการเรียน สอนโดย คุณพี่เขยกับพี่สาว คนสอนก็เกร็งคนเรียนก็เกร็ง ไปโน่นเลยแล้วกันถนนอุทยาน(ถนนอักษะ) วันอาทิตย์รถโล่งกว่าวันไหนๆ ไม่จำเป็นอย่าผ่านถนนเส้นนี้ เพราะพวกมือใหม่หัดขับเขายึดถนนเส้นนี้แล้วจ้า(เฉพาะวันอาทิตย์) ขับๆกันอยู่แถวนั้นหัดขับรถทั้งนั้นแหละคร้า เหมือนๆข้าพเจ้าที่ไปยึดถนนเส้นนั้น เจอหลายคันเหมือนกัน ดูจากความเงอะๆงะๆพอๆกับเราเลย ฮ่าๆๆๆๆๆ วันแรกจัดไปพอเป็นน้ำจิ้มเกือบสิบรอบได้ที่ถนนอักษะ แล้วก็ไปต่อกันที่ พุทธมลฑล สถานที่กว้างขวางมากมาย แต่ถนนแคบเกือบลงคลองแน่ะ อิอิ จัดไปเบาๆ 3 ชั่วโมง ขำก็ตอนที่คนสอนบอกเหยียบเบรคดันไปเหยียบคันเร่งซะงั้น รถใหม่พุ่งพรวดกันเลยทีเดียว คนหัวลุกกันทั้งคนสอนคนเรียน สรุปวันแรก รู้จักพวงมาลัย เรค คันเร่ง อย่างอื่นจำไม่ได้เลย 5555 แบบว่าสมองต้องจำซ้ายกะขวา และก็เบรคให้มันขึ้นใจก่อน ขอกลับมาศึกษาคู่มือก่อนล่ะกันคร้าา แมตหน้าฮากันใหม่เด้อจ้า...

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

คืนเงินโครงการรถยนต์คันแรก ล็อตแรก 1 ตุลาคมนี้

ข่าวนี้เป็นข่าวดี สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยอธิบดีกรมบัญชีกลาง ระบุว่าสามารถคืนเงินโครงการรถยนต์คันแรก ล็อตแรกภายใน1 ตุลาคมนี้ โดยจะแบ่งจ่ายเดือนละ 2 ครั้ง ในทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน ตามรายชื่อที่ได้รับจากกรมสรรพสามิต นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึง การเตรียมคืนเงินตามโครงการรถยนต์คันแรกว่า มีประชาชนที่จะได้รับเงินคืนตามโครงการรถยนต์คันแรก ชุดแรกประมาณ 50 คน ซึ่งทำให้การจ่ายเงินคืนภายในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งกรมสรรพสามิตได้ตั้งงบประมาณการเบิกจ่ายคืนเงินไว้ในปีงบประมาณ 2556 ทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท ซึ่งตามกระบวนการ กรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ธนาคารโอนเงินไปยังบัญชีของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าว จากนั้นกรมบัญชีกลางจะแจ้งให้ผู้รับเงินทราบทางข้อความส่วนตัว หรือ SMS สำหรับการโอนเงิน กรมบัญชีกลางจะแบ่งจ่ายเดือนละ 2 ครั้ง คือ ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน ตามรายชื่อที่ได้รับจากกรมสรรพสามิต ซึ่งหากผู้ได้รับสิทธิ์ไม่ได้รับเงิน สามารถแจ้งปัญหามาที่ Call Center ของกรมบัญชีกลาง เพื่อประสานงานกับกรมสรรพสามิตและกรมการขนส่งทางบกต่อไป นอกจากนี้ กรมบัญชีกลางยังมีหน้าที่ติดตามเงินคืนกรณีที่ตรวจสอบพบว่าไม่เข้าข่ายได้ รับสิทธิ์คืนเงิน เนื่องจากมีการโอนเปลี่ยนมือก่อน 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก www.sanook.com

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ไขข้อข้องใจ.. พลังงานทดแทน ระบบ CNG!!

พลังงานทดแทน CNG ที่นำมาใช้กับรถยนต์นั้น ถือเป็นการใช้พลังงาน 2 พลังงานเช่นกัน คือ การนำก๊าซ CNG มาใช้ ทดแทน น้ำมันเบนซิน รวมถึงการใช้ก๊าซ CNG มา ร่วม หรือ ทดแทน น้ำมันดีเซล ซึ่งแตกต่างจากการใช้ก๊าซ LPG โดยเครื่องยนต์เบนซินนั้น สามารถใช้ก๊าซ CNG มาเป็นพลังงาน “ทดแทน” ด้วยการติดตั้ง Pressure Regulator ซึ่งเป็นตัวปรับความดัน ติดตั้งอุปกรณ์ฉีดก๊าซ พร้อมติดตั้ง ECU ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประมวลผลการจ่ายก๊าซ พร้อมติดตั้งชุด Advance Timing ซึ่งเป็นตัวปรับเวลาการจุดระเบิดให้เหมาะกับ CNG สำหรับการติดตั้งก๊าซ CNG เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถดีเซลนั้น มีวิธีการติดตั้งอยู่ 2 วิธีคือ “Diesel Dual Fuel” หรือ DDF ซึ่งเป็นการใช้ก๊าซ CNG ร่วมกับน้ำมันดีเซล ซึ่งวิธีนี้จะติดตั้ง Mixer บริเวณท่อไอดี เพื่อนำก๊าซ CNG ไปผสมกับอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้ เพื่อลดการจ่ายน้ำมันดีเซลลง (ไม่ใช่การใช้ก๊าซแทนการใช้น้ำมัน) และต้องติดตั้ง Pressure Regulator เพื่อปรับลดแรงดัน ซึ่งด้วยราคาการติดตั้งก๊าซ CNG สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ค่อนข้างสูง และยากที่จะคุ้มทุน ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับการติดตั้งก๊าซ CNG สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า Re-Powered ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลเดิม เป็นเครื่องยนต์ที่สามารถใช้ก๊าซ CNG ได้มาทดแทน ซึ่งวิธีนี้ต้องดูลักษณะของรถยนต์คันนั้น ๆ ว่าสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ และปรับเปลี่ยนได้อย่างไร ในต้นทุนเท่าใด